ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
1.ระบบปฏิบัติการ
หรือที่เรียกย่อๆว่าโอเอส(Operating
System : OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์
ลีนุกส์ และแมคอินทอช เป็นต้น
2. ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์
การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ขึ้นกับผู้เขียนโปรแกรมว่าจะเลือกใช้ภาษาใด รูปแบบภาษาคอมพิวเตอร์ปัจจุบันเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาระดับสูง แต่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ คอมพิวเตอร์รู้จักแค่ 0 และ 1 เท่านั้น เรียกว่า ภาษาเครื่อง
การจะเขียนจากภาษามนุษย์ให้คอมพิวเตอร์เข้าใจจะต้องอาศัย “ล่าม” หรือตัวแปลภาษา ช่วยแปลให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ แบ่งเป็น 3 ประเภท
1. แอสเซมเบลอร์ ทำหน้าที่แปลสัญลักษณ์ที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ให้เป็นเลขฐานสอง ภาษาแอสเซมบลีจัดเป็นภาษาระดับต่ำ
2. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลชุดคำสั่งที่เขียนจากโปรแกรมภาษาระดับสูงทำการอ่านและแปลทีละบรรทัด หากเจอข้อผิดพลาดจะแจ้งให้แก้ไขทันทีเหมาะกับโปรแกรมขนาดเล็ก
3. คอมไพเลอร์ แปลชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง คอมไพเลอร์อ่านและแปลชุดคำสั่งทั้งหมดในเวลาเดียวกัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล ภาษาซี
3. โปรแกรมอรรถประโยชน์
เป็นโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูล โปรแกรมเหล่านี้ได้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำงานตามวัตถุประสงค์ผู้ใช้งาน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โปรแกรมสำหรับงานเฉพาะด้าน พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะในหน่วยงาน
ตามความต้องการของหน่วยงาน มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาในการพัฒนานาน
2. โปรแกรมสำเร็จรูป พัฒนาขึ้นมาใช้งานทั่วๆไปทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสีย
ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ให้เหมะกับการทำงานของตัวเอง โดยแบ่งตามลักษณะการมใช้งาน
2.2
โปรแกรมในรูปแบบของตารางการทำงาน
2.3
โปรแกรมช่วยในด้านการนำเสนอ
2.4 โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล
2.5
โปรแกรมงานด้านกราฟิก
2.6
โปรแกรมงานด้านมัลติมีเดีย