รหัสแทนข้อมูล

ใบความรู้
เรื่อง รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล คือรหัสที่ใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์  เพราะข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง ที่มีเลข 0 และ 1 วางเรียงกัน


หน่วยของข้อมูล
8 Bit                 เป็น 1 Byte                                =1 ตัวอักษร
1,024 Byte       เป็น 1 KB (Kilobyte)                  =1,024 ตัวอักษร
1,024 KB          เป็น 1 MB (Megabyte)               =1,048,576 ตัวอักษร
1,024 MB         เป็น 1 GB (Gigabyte)                =1,037,741,824 ตัวอักษร

1,024 GB         เป็น 1 TB (Terabyte)                 =1,099,511,627 ตัวอักษร

ชนิดรหัสแทนข้อมูล

1.รหัสแอสกี (ASCII)
            ใช้เลขฐานสอง 8 หลัก แทนข้อมูลหนึ่งตัว และใช้แทนสัญลักษณ์ต่างๆได้ 256 ตัว 
 

2.รหัส Unicode
      เป็นรหัสใหม่ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นมา เนื่องจากรหัสชนิด 8 บิต มีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่างๆในโลกได้ครบ
       Unicode เป็นระบบรหัส 16 บิต แทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว 

การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในการประมวลผล การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสอง ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลข ตัวอักษรจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสองและเก็บในหน่วยความจำ
      ตัวอย่าง เก็บข้อความ BANGKOK ในหน่วยความจำ
ระบบจำนวนที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์
1. ระบบเลขฐานสอง (Binary Number System) ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสองจะอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 101101สอง อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-ฐานสอง
2. ระบบเลขฐานแปด (Octal Number System) ประกอบด้วยเลข 0-7 เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสอง การอ่านเลขฐานจะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 4367แปด อ่านว่า สี่-สาม-หก-เจ็ด-ฐานแปด
3. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal Number System) ประกอบด้วยเลข 0-9 เป็นระบบเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านตัวเลขในระบบ เลขฐานสิบ สามารถอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 16825สิบ อ่านว่า หนึ่ง-หก-แปด-สอง-ห้า-ฐานสิบ แต่ไม่นิยมอ่านแต่จะอ่านตามหลักของตัวเลขฐานสิบ คือ หนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบห้า
4. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number System) ประกอบด้วยเลข 0-9 และ A-F เป็นระบบที่ช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสองและฐานแปด มีสัญลักษณ์จำนวน 16 ตัว ใช้ตัวเลขและตัวอักษรภาษาอังกฤษ การอ่านระบบเลขฐานสิบหก อ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 1C7สิบหก  อ่านว่า หนึ่ง-ซี-เจ็ด-ฐานสิบหก

การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
วิธีการแปลงโดยการหาร
1.เอาเลขฐานสิบที่ต้องการแปลงตั้งหารด้วยสอง
2. สนใจเศษ ถ้าหารลงตัว ให้เศษเป็น 0 ถ้าหารไม่ลงตัว ให้เศษเป็น 1
3. หารไปเรื่อยๆ จนกว่าตัวตั้งจะมีค่าน้อยกว่าตัวหาร
                         4. การตอบ จะเรียงข้อมูลจากล่างขึ้นบน
ตัวอย่าง
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
วิธีการแปลง
1. เขียนเลขฐานสองที่จะแปลง 1 1 1 0
2. หาค่าประจำหลักโดยเริ่มจากหลักหน่วยในที่นี้คือ 0 จะได้   13   12   11   00
3. นำเลขแต่ละหลักมาคูณกับค่าของฐาน คือ 2 ยกกำลัง ค่าประจำหลักจากข้อ 2 
และนำแต่ละ หลักมาบวกกัน 
4. หาค่าจากการยกกำลังแล้วคูณกับเลขแต่ละหลัก และนำแต่ละหลักมาบวกกัน   
ตัวอย่าง
จงแปลงเลข  11102 เป็นเลขฐานสิบ
                        11102   =  (1x23) + (1x22) + (1x21) + (0x20)
                                    =  (1x8) + (1x4) + (1x2) + (0x1)
                                    =   8     +     4    +    2    +    0
                        11102   =   14
แบบฝึกหัด
1. แปลงรหัสแอสกีให้เป็นตัวอักษร 01000100 01100001 01110100 01100001
2. แปลงรหัสแอสกีให้เป็นตัวอักษร 01000011 01101111 01101101 01110000 01110101 01110100 01000101 01010010
3. แปลงข้อความ Mother Day ให้เป็นรหัสแอสกี
4. แปลงเลขฐานสิบ 34 ให้เป็นฐานสอง

5. แปลงเลขฐานสอง 10111010 ให้เป็นเลขฐานสิบ



© ครูIT | Blogger Template by Enny Law