รหัสแทนข้อมูล
ใบความรู้
เรื่อง รหัสแทนข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล
คือรหัสที่ใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์
เพราะข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง ที่มีเลข 0 และ 1 วางเรียงกัน
หน่วยของข้อมูล
8 Bit เป็น 1 Byte =1
ตัวอักษร
1,024 Byte เป็น 1 KB (Kilobyte)
=1,024
ตัวอักษร
1,024 KB เป็น 1 MB
(Megabyte) =1,048,576 ตัวอักษร
1,024 MB เป็น 1 GB
(Gigabyte) =1,037,741,824 ตัวอักษร
1,024 GB เป็น 1 TB (Terabyte) =1,099,511,627 ตัวอักษร
ชนิดรหัสแทนข้อมูล
1.รหัสแอสกี (ASCII)
ใช้เลขฐานสอง
8 หลัก
แทนข้อมูลหนึ่งตัว และใช้แทนสัญลักษณ์ต่างๆได้ 256 ตัว
2.รหัส Unicode
• เป็นรหัสใหม่ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นมา
เนื่องจากรหัสชนิด 8 บิต มีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่างๆในโลกได้ครบ
• Unicode เป็นระบบรหัส
16 บิต แทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว
การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในการประมวลผล
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสอง
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลข
ตัวอักษรจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสองและเก็บในหน่วยความจำ
ตัวอย่าง เก็บข้อความ BANGKOK ในหน่วยความจำ
ระบบจำนวนที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์
1. ระบบเลขฐานสอง (Binary
Number System) ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสองจะอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 101101สอง อ่านว่า
หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-ฐานสอง
2. ระบบเลขฐานแปด (Octal
Number System) ประกอบด้วยเลข 0-7
เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสอง
การอ่านเลขฐานจะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 4367แปด อ่านว่า สี่-สาม-หก-เจ็ด-ฐานแปด
3. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal
Number System) ประกอบด้วยเลข 0-9 เป็นระบบเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
การอ่านตัวเลขในระบบ เลขฐานสิบ สามารถอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน
เช่น 16825สิบ อ่านว่า
หนึ่ง-หก-แปด-สอง-ห้า-ฐานสิบ แต่ไม่นิยมอ่านแต่จะอ่านตามหลักของตัวเลขฐานสิบ คือ
หนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบห้า
4. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal
Number System) ประกอบด้วยเลข 0-9 และ A-F เป็นระบบที่ช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสองและฐานแปด
มีสัญลักษณ์จำนวน 16 ตัว ใช้ตัวเลขและตัวอักษรภาษาอังกฤษ
การอ่านระบบเลขฐานสิบหก อ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น 1C7สิบหก อ่านว่า หนึ่ง-ซี-เจ็ด-ฐานสิบหก
การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
วิธีการแปลงโดยการหาร
1.เอาเลขฐานสิบที่ต้องการแปลงตั้งหารด้วยสอง
2. สนใจเศษ ถ้าหารลงตัว ให้เศษเป็น 0 ถ้าหารไม่ลงตัว ให้เศษเป็น 1
3. หารไปเรื่อยๆ
จนกว่าตัวตั้งจะมีค่าน้อยกว่าตัวหาร
4.
การตอบ จะเรียงข้อมูลจากล่างขึ้นบน
ตัวอย่าง
การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
วิธีการแปลง
1. เขียนเลขฐานสองที่จะแปลง 1 1 1 0
2. หาค่าประจำหลักโดยเริ่มจากหลักหน่วยในที่นี้คือ 0 จะได้ 13 12 11 00
3. นำเลขแต่ละหลักมาคูณกับค่าของฐาน คือ 2 ยกกำลัง ค่าประจำหลักจากข้อ 2
และนำแต่ละ
หลักมาบวกกัน
4. หาค่าจากการยกกำลังแล้วคูณกับเลขแต่ละหลัก
และนำแต่ละหลักมาบวกกัน
ตัวอย่าง
จงแปลงเลข 11102 เป็นเลขฐานสิบ
11102 = (1x23) + (1x22)
+ (1x21) + (0x20)
= (1x8) + (1x4) + (1x2)
+ (0x1)
=
8 + 4
+ 2 + 0
11102 = 14
แบบฝึกหัด
1. แปลงรหัสแอสกีให้เป็นตัวอักษร 01000100 01100001 01110100 01100001
2. แปลงรหัสแอสกีให้เป็นตัวอักษร
01000011 01101111 01101101 01110000 01110101 01110100 01000101 01010010
3. แปลงข้อความ Mother
Day ให้เป็นรหัสแอสกี
4. แปลงเลขฐานสิบ 34 ให้เป็นฐานสอง
5. แปลงเลขฐานสอง 10111010
ให้เป็นเลขฐานสิบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบ คอมพิวเตอร์
จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ
การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี
คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น ระบบปฏิบัติการดอส, ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์,
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์, ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์และ
ระบบปฏิบัติ MAC OS เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบ
ปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ
ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบ ปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ
กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า
และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้น
เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ(
load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
โปรแกรมประยุกต์ (Application Software)
โปรแกรมประยุกต์ (Application Software)
ลักษณะของโปรแกรมและตัวอย่างโปรแกรม
ลักษณะโปรแกรม
|
ตัวอย่างโปรแกรม
|
ประมวลผลคำ ( Word
Processing )
|
· Microsoft Word
|
ตารางคำนวณ ( Spreadsheet
)
|
· Microsoft Excel
|
ฐานข้อมูล ( Database
)
|
·
Microsoft
Access
·
Oracle
·
My SQL
|
นำเสนอผลงาน ( Presentation
)
|
· Microsoft PowerPoint
|
งานสิ่งพิมพ์
(Desktop Publishing)
|
·
Adobe
InDesign
·
Microsoft
Publisher
|
งานกราฟิกและตกแต่งภาพ
(Graphic)
|
·
Adobe
Illustrator
·
Adobe
Photoshop
|
ตัดต่อวิดีโอและเสียง
(Video and Audio Editing)
|
·
Sonny
Vegas
·
Adobe
Premiere Pro
·
Adobe
After Effects
|
สร้างสื่อมัลติมีเดีย
(Multimedia Authoring)
|
·
Macromedia
Authorware
·
Adobe
Flash
·
Adobe
captivate
|
สร้างเว็บ
(Web Page Authoring)
|
·
Adobe
Dreamweaver
·
Joomla
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
^^
ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคน
เลือกเนื้อหาบทเรียน
-
ใบความรู้ เรื่อง รหัสแทนข้อมูล รหัสแทนข้อมูล รหัสแทนข้อมูล คือรหัสที่ใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เพราะข้อมูล...
-
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS ( Network Operating System ) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อส...
-
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ 1. หน่วยรับข้อมูล ( Input Unit ) หน้าที่ของหน่วยรับข้อมูล คือ แปลงข้อมูล คำสั่...
คลังเนื้อหาบทเรียน
ผู้จัดทำ
สถิติการเข้าเรียน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.